ชื่อยา                            ยาหอมแก้ลมวิงเวียน

ข้อบ่งใช้                         แก้อาการวิงเวียน อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ

คำแนะนำการใช้                ใช้ดีในผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่อยากอาหาร ตัวยามีส่วนประกอบของชะเอมรสยาจึงทานง่าย

จากแพทย์แผนไทย

รูปแบบยา                        ผงยาสำหรับชงในน้ำอุ่น

วิธีใช้                             ผู้ใหญ่: ผงยา 1 ซองชา ละลายน้ำอุ่น 150 ml ดื่มก่อนอาหาร เช้า กลางวัน เย็น

 

ส่วนประกอบ                     1. รากชะเอมเทศ หนัก 32 กรัม แก่นจันทน์เทศ หนัก 24 กรัม
                                   2. ดอกกานพลู โกศเชียง โกศหัวบัว รากแฝกหอม เกสรบัวหลวง หนักสิ่งละ 12 กรัม
                                   3. เปลือกสมุลแว้ง หนัก 10 กรัม เปลือกอบเชยญวน เปลือกอบเชยเทศ กฤษณา กระลำพัก โกศจุฬาลัมพา โกศพุงปลา เปลือกชะลูด หนักสิ่งละ 8 กรัม
                                   4. พิมเสน ขอนดอก ดอกบุนนาค ดอกพิกุล ดอกสารภี หนักสิ่งละ 6 กรัม
                                   5. เถามวกแดง 5 กรัม น้ำประสานทองสะตุ แก่นจันทน์แดง หนักสิ่งละ 4 กรัม

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา      

                                  1.  ชะเอมเทศประกอบด้วยสาร glycyrrhizin และ24-hydroxyglyrrhizin1 มีรสหวาน ทำให้ชุ่มคอ กระตุ้น  ความอยากอาหาร
                                  2.แก่นจันทน์เทศ มีฤทธิ์บำรุงหัวใจ และน้ำมันหอมระเหยจากจันทน์เทศช่วยลดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้2
                                  3.กานพลู แฝกหอม มีฤทธิ์ลดอาการปวด3,4,5  
                                  4.เกสรบัวหลวงมีฤทธิ์แก้อาการวิงเวียนและantidepressant
                                  5.โกศเชียงมีฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น ช่วยคลายกังวลทำให้นอนหลับได้เช่นเดียวกับ diazepam
                                         6.โกศหัวบัวมีฤทธิ์ต้านความปวด ทำให้ระยะเวลาในการหลับยาวนานขึ้น8

 

อ้างอิง

  1. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.“ชะเอมเทศ”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://medplant.mahidol.ac.th.[4 มกราคม 2018].
  2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.“จันทน์เทศ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : thaicrudedrug.com.[4 มกราคม 2018].
  3. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.“กานพลู”.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : thaicrudedrug.com.[4 มกราคม 2018].
  4. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.“แฝกหอม”.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : thaicrudedrug.com.[4 มกราคม 2018].
  5. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.“กานพลู”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://medplant.mahidol.ac.th.[4 มกราคม 2018].
  6. กนกพร อะทะวงษาและคณะ.“ดอกไม้ในยาไทย”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://medplant.mahidol.ac.th.[4 มกราคม 2018].
  7. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.“โกศเชียง”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://medplant.mahidol.ac.th.[4 มกราคม 2018].
  8. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.“โกฐหัวบัว”.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : thaicrudedrug.com.[4 มกราคม 2018].