ชื่อยา                               ฟ้าทะลายโจร

 

ส่วนประกอบ                       ผงจากส่วนเหนือดินของฟ้าทะลายโจร [Andrographis paniculata (Burm. f.) Wall. ex Nees] ที่มีสารสำคัญ total lactone

                               โดยคำนวณเป็น andrographolide ไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก (w/w)

 

ขนาด(รพ.สุรินทร์)                 500 mg./capsule

 

ข้อบ่งใช้                           1.ไข้หวัด เจ็บคอ

2.ท้องเสียชนิดไม่ติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่มีมูก ไม่มีเลือดปน

 

วิธีใช้                               รับประทานครั้งละ 3-6 แคปซูลวันละ 4 ครั้งก่อนอาหาร เช้า กลางวัน เย็นและก่อนนอน

 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

ลดไข้   ต้านการอักเสบ   ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง ลดการบีบตัวหรือหดเกร็งของลำไส้ และกระเพาะอาหาร ป้องกันตับจากสารพิษ

ต้านออกซิเดชั่น กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน  ลดความดันเลือด ลดอัตราการเต้นหัวใจ ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

 

 

งานวิจัย

1.จากการทดลองรักษาอาการท้องเสียในผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันและติดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคบิด จำนวน 200 ราย โดยเทียบกับเตตร้าซัยคลิน พบว่าช่วยลดระยะเวลาที่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล ลดปริมาณ น้ำเกลือที่ให้ทดแทน และลดปริมาณการถ่ายอุจจาระเหลวทั้งจำนวนครั้งและระยะเวลาที่ถ่ายได้

2.ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ต้านเชื้อ E.coli ,S. Aureus,Salmonella,Shigella  ยกเว้น Cholera

3.Andrographolide ออกฤทธิ์ยับยั้ง E. coli LT และ LT/ST enterotoxins คล้ายกับ loperamide  และยับยั้ง E. coli ST enterotoxins ที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคท้องร่วงในทารกแรกเกิด ได้ดีกว่า loperamide

4.การศึกษาการใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อรักษาอาการไข้และเจ็บคอเปรียบเทียบกับยาลดไข้พาราเซตามอล พบว่ากลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรขนาด 6 g.ต่อวัน จะมีอาการไข้และการเจ็บคอลดลงในวันที่ 3 ซึ่งดีกว่ากลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจร 3 g./วัน หรือในกลุ่มที่ได้รับพาราเซตามอล   แต่การติดตามผลเมื่อหลัง 7 วันพบว่าผลการรักษาไม่ต่างกัน และฟ้าทะลายโจรไม่ให้ผลต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเจ็บคอ

5.การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อป้องกันหวัด ซึ่งทำในช่วงฤดูหนาว โดยให้นักเรียนรับประทานยาเม็ดฟ้าทะลายโจรแห้ง ขนาด200 mg./วัน ติดตามผลไปในเดือนแรกของการทดลองไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่รับประทานยาและกลุ่มควบคุม แต่หลังจาก 3 เดือนของการทดลองพบว่าอุบัติการณ์การเป็นหวัดในกลุ่มที่ได้ฟ้าทะลายโจรลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยอัตราการเป็นหวัดในกลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรเท่ากับร้อยละ 20 ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีอัตราการเป็นหวัดเท่ากับร้อยละ 62  

 

การศึกษาความเป็นพิษ     1.ไม่พบพิษเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรัง